ในเมื่อประเทศเรายังไม่เกิดองค์กร สภา สมาคม ชมรม อะไรก็ตาม ที่สามารถทำภารกิจเหล่านี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่เราทำได้เองง่ายๆ คือ ยึดหลักมาตรฐานตามองค์กรที่ได้รับการยอมรับ Certified จากองค์กรที่น่าเชื่อถือ เป็นการสร้างมาตรฐานให้กับตัวเองอย่างหนึ่ง
Picture of Tham Thaiyanont, MS, CSCS
แยกอ่านทีละหัวข้อ

วงการวิทยาศาสตร์การกีฬา มีองค์กรที่ทำหน้าที่เป็น Community เป็นแหล่งให้ความรู้ ฝึกอบรม ออก Certification ทำวิจัย มีวารสารการวิจัย กำหนด Guideline ต่างๆ ออกมา และมีคอร์สอื่นๆ ให้ศึกษาต่อ มากมายหลายองค์กร 

องค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่คล้ายๆ สภาวิชาชีพในบ้านเรา


องค์กรเหล่านี้ก็จะมีความเฉพาะทางที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา เช่น Strength and Conditioning, Sports Medicine หรือ Health and Fitness และสิ่งที่แตกต่างกันอีกอย่างหนึ่งคือ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งและดำเนินงานขององค์กรนั้น เราสามารถแบ่งประเภทออกไปได้ง่ายๆ 2 ลักษณะได้แก่

  • Non – Profit Organizations
  • For-Profit Organizations


Non-profit Organization คือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร กล่าวคือ กำไรจากผลการดำเนินงานนั้น จะไม่มีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด ที่จะได้กำไรจากการดำเนินงานขององค์กร ค่าใช้จ่ายๆ ต่างๆ ที่เราจ่ายไปให้กับองค์กรเหล่านี้ จะเป็นไปเพื่อค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่และบริการต่างๆ ขององค์กร


ส่วน For-profit Organization ก็คือองค์กรธุรกิจ ที่ดำเนินงาน โดยที่มีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด ที่จะได้ประโยชน์หรือกำไรจากการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจนั้นๆ


ถ้าว่ากันตามหลักสากลแล้ว Non-Profit Organization ก็จะเป็นที่น่าเชื่อถือกว่า ในต่างประเทศที่วิทยาศาสตร์การกีฬาก้าวหน้ามากๆ  วิทยาศาสตร์การกีฬา สามารถแบ่งออกเป็นองค์กรต่างๆ ที่เป็น Community ย่อยลงไปในแต่ละวิชาชีพย่อยๆ เช่น Strength and Conditioning, Sports Scientist, Personal Trainer ในขณะที่ประเทศเรา ยังคงใช้คำว่าวิทยาศาสตร์การกีฬากว้างๆ ไปกับทุกๆ สิ่งอยู่ หรือบางคนก็ยังไม่รู้จักเลยว่าวิทยาศาสตร์การกีฬาคืออะไร


ตัวอย่างองค์กร Non-Profit Organization ในประเทศต่างๆ


America

  • NSCA – National Strength and Conditioning Association
  • ACSM – American College of Sports Medicine

UK

  • UKSCA – United Kingdom Strength and Conditioning Association

Australia

  • ASCA – Australian Strength and Conditioning Association
  • ESSA – Exercise and Sports Science Australia

NSCA คือใคร

NSCA หรือ National Strength and Conditioning Association เป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ของอเมริกาที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับทั่วโลก ที่มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน Strength and Conditioning และวิชาชีพวิทยาศาสตร์การกีฬาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


NSCA จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1978 เพื่อส่งเสริมให้เกิด Community ของผู้เชี่ยวชาญในด้าน Strength and Conditioning เพื่อให้เกิด Impact เกิดการพัฒนา เผยแพร่ความรู้ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Evidence-based knowledge ) และการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ผ่านการออก Certification, Research Journals, Career Development Services, Networking Opportunities และ Continuing Education


NSCA Community ประกอบด้วยสมาชิกมากกว่า 60,000 คนและผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจากทั่วโลกซึ่งยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมในฐานะนักวิจัย นักการศึกษา ผู้ฝึกสอนด้านความแข็งแกร่งและการปรับสภาพ นักวิทยาศาสตร์ด้านการแสดงและการกีฬา ผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธวิธี และบทบาทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดยมี Mission และ Vision ที่ประกาศไว้อย่างชัดเจนว่า


Mission 

 “As the worldwide authority on strength and conditioning, we support and disseminate research-based knowledge and its practical application to improve athletic performance and fitness.”


Vision 

“To advance the strength and conditioning profession.”

NSCA ทำอะไร

จาก Mission และ Vision ที่กล่าวไป NSCA ก็มีการกำหนด 2021 Strategic Plan เอาไว้ด้วยในเว็บไซต์ NSCA ลงลึกเรื่องกลยุทธ์ที่แบ่งเอาไว้ อีก 5 ด้านดังนี้ครับ 

ด้านที่ 1 พัฒนาวิชาชีพ “พัฒนาวิชาชีพ Strength and Conditioning ผ่านงานวิจัย การให้การศึกษา การฝึกอบรม และเครือข่ายวิชาชีพ”


NSCA เด่นเรื่องนี้มาก เป็นเรื่องที่เขาถนัดและเป็น Mission แรกๆ ตั้งแต่ก่อตั้ง ดูจากชื่อ National Strength and Conditioning Association ก็น่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก

ด้านที่ 2 พัฒนา Community “สร้างเครือข่ายและโอกาส ให้สมาชิกได้เข้าร่วมกิจกรรม เรียนรู้ และแชร์ประสบการณ์”

ด้านที่ 3 สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Strength and Conditioning 

ด้านที่ 4 พัฒนา “การสื่อสารองค์กรและวิชาชีพให้เป็นที่รู้จัก”

ให้ความรู้ ความเข้าใจ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องกับ วิชาชีพ Strength and Conditioning

ด้านที่ 5 พัฒนาองค์กรให้สามารถไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้ 

NSCA เกี่ยวข้องอะไรกับเรา เราทำอะไรกับ NSCA ได้บ้าง

NSCA เป็นองค์กรที่มีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ โค้ช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกีฬาทั่วโลก เป็นเหมือนสภาวิชาชีพอื่นๆ ในบ้านเรา ที่ค่อย กำกับดูแล ควบคุมคุณภาพของผู้ที่จะมามีส่วนร่วมกับองค์กร ผลักดันการพัฒนาวิชาชีพ Strength and Conditioning 


NSCA ถึงแม้จะเป็นองค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็ได้รับการยอมรับทั่วโลก งานวิจัยที่ได้รับตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยของ NSCA เอง ก็เป็นที่รู้จักและมีการอ้างอิงมากมายทั่วโลกเช่นกัน ผลงานของประเทศก็เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าประสบความสำเร็จเพียงใด


สำหรับประเทศไทยเรา ในทางปฏิบัติแล้ว ก็ยังไม่ได้มีองค์กรเฉพาะทางด้าน Strength and Conditioningในลักษณะนี้ หรือแม้แต่องค์กรที่กำกับดูแลวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาใดๆ เลย ที่มีพันธกิจที่ชัดเจนเหมือน NSCA 


สำหรับคนที่สนใจด้าน Strength and Conditioning แล้ว NSCA เป็นต้นแบบที่ดี ที่เราสามารถใช้หลักการ ทฤษฎีของเขา มาปรับใช้ได้ ในการฝึกนักกีฬา รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นสอบ Certification หรืออ่านบทความงานวิจัยต่างๆ 


NSCA Certification เป็น Certification ที่ได้รับการยอมรับ เป็น Requirement ในการสมัครงานในหลายทีมในหลายประเทศ การมีไว้อาจจะไม่ได้มีผลใดๆ ในการทำงานในประเทศไทย แต่อย่างน้อย เนื้อหาที่เราอ่านสอบไปนั้น ก็ทำให้เราได้รู้ถึงมาตรฐานความรู้ที่ควรมีในการทำงาน เข้าใจการทำงานที่เป็นระบบในทีมกีฬามืออาชีพมากขึ้น


หากเราเข้าไปมีส่วนร่วมกับ NSCA เราก็จะได้รับบริการของ NSCA ทั้ง 5 ด้านต่อไปนี้ ที่สอดคล้องกับภารกิจของ NSCA

  1. Certification Provider
  2. ทำวารสารการวิจัย
  3. จัด National Conference และ International Conference
  4. ให้บริการ Continuing Education

1. Certification

Certification ของ NSCA มีความน่าเชื่อถือ และมีอิทธิพลมากไม่ใช่เพียงในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นระดับนานาชาติ อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้า ผู้ที่จะทำงานเป็น Strength and Conditioning Coach ในทีมกีฬาในหลายประเทศมหาอำนาจด้านกีฬา จะต้องถือ Certification อย่าง Certified Strength and Conditioning Specialist หรือ CSCS เป็นต้น 


Certification ในโลกนี้มีหลายประเภท


NSCA Certification เป็นประกาศนียบัตรที่มีลักษณะการสอบแบบ Comprehensive Exam คือการสอบประมวลความรู้รวบยอด ต่างจาก Cert อีกแบบที่อาจจะแค่เข้าร่วม หรือแค่สอบหลังจบคอร์สด้วยข้อสอบไม่กี่ข้อ


การสอบแบบประมวลความรู้ จะเป็นการเช็คว่า เรามีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ดีหรือไม่ และสามารถประยุกต์ได้มั้ย ในบริบทของข้อสอบเอง 


จึงทำให้ใครหลายคนอาจจะมองการสอบประมวลความรู้ลักษณะนี้ ไม่มีประโยชน์ หรือเนื้อหาในหนังสือนั้นไม่ได้เอาไปใช้จริง


แต่…. อย่างตกหลุมพรางเรื่องของการนำไปใช้ โดยมองความพื้นฐานวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ถ้าไม่เข้าใจ Human Anatomy, Physiology, Biomechanics, Nutrition, Psychology จะไปประยุกต์ใช้ได้ถูกต้องได้อย่างไร


บาง Cert มีลักษณะเป็น Framework เป็น Guideline สามารถหยิบใช้ได้เลย แต่ถ้าเราใช้อย่างไม่เข้าใจ ผลเสียก็จะตามมาได้ในระยะยาว


NSCA Certification อย่างเช่น CSCS จึงเหมือนเป็นพื้นฐานที่เราควรผ่านมันไปให้ได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เรามีความรู้พื้นฐานที่เพียงพอแล้ว 


Certification ที่ NSCA ให้การ Certified มีดังต่อไปนี้ ซึ่งจะต่างกันไปในแต่ละ Area of interest



สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ของ NSCA คลิกที่ชื่อของแต่ละ Cert ได้เลย

2. Continuing Education

Cert ที่เป็นลักษณะ Comprehensive Exam จะมีระบบการต่ออายุ Cert ด้วยการเก็บ Credit ผ่านกิจกรรมที่สถาบันกำหนด เพื่อเป็นการอัพเดทความรู้ ให้ทันกับเหตุการณ์ เทรนด์ในปัจจุบัน 


โดย NSCA เองก็จะมีกิจกรรมทั้งภายในสถาบันเอง ที่ใช้เก็บเครดิตต่ออายุได้ และมีการให้หน่วยงาน บริษัทอื่นๆ สามารถยื่นข้อรับรองคอร์สของตัวเอง ให้เป็นหนึ่งในคอร์สที่ใช้เก็บเครดิตของผู้ที่ถือ Cert ของ NSCA ได้เช่นกัน


คอร์สที่ NSCA รับรอง ก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากจะมีเนื้อหาสอดคล้องกับ Cert ที่เราถือแล้ว ทำให้เราไว้ใจได้ว่า เราจะได้รับความรู้ที่เหมาะสมจริงๆ

3. NSCA Events

NSCA จะมีการจัด Events ขึ้นเป็นประจำในทุกๆ ปี ทั้งรูปแบบออนไลน์และ On-Site

นอกจากเป็นการมาอัพเดทความรู้ตามหัวข้อต่างๆ ของแต่ละ Speaker ได้เก็บเครดิตต่อายุ Cert ที่ถืออยู่ ยังเป็นการสร้าง Community ระหว่างโค้ชด้วยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ช่วยเหลือกัน ทำให้วิชาชีพแข็งแกร่งขึ้นด้วยเช่นกัน


Events จะถูกแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น


  • Conferences – เป็นงานประชุมประจำปี อัพเดทความรู้ วิธีการใหม่ๆ ต่างๆ โดยอาจารย์ นักวิจัยและโค้ชระดับโลก
  • State/Provincial and Regional Events – คล้ายกับ Conferences ประจำปี และงานประชุมในระดับรัฐหรือภูมิภาค
  • Clinics – Workshop ที่เจาะจงลงไปในแต่ละหัวข้อ
  • NSCA Courses – Course ของ NSCA ที่จัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของ NSCA เอง
  • EXAM Prep Live Clinics – Workshop เตรียมตัวสอบ Cert ของ NSCA


4. บทความทางวิชาการ วารสารการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Strength and Conditioning

NSCA มีวารสารเป็นของตัวเอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

Journals

Journal of Strength and Conditioning Research


วารสารเหล่านี้จะถูกเขียนผ่านการวิจัยและพัฒนาจากนักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วโลก ก่อนที่จะผ่านการ Approve จาก บรรณาธิการวารสาร ของ NSCA อีกที ไว้ใจได้ว่า เราจะได้อ่านงานวิจัยที่มีคุณภาพ ที่ได้ผ่านการรับรองมาแล้ว โดย JSCR ก็จะเหมาะกับผู้ที่ทำงานวิจัย เป็นนักวิจัย อาจารย์ หรือกำลังศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นต้น


Strength and Conditioning Journal


วารสารนี้ จะมีเนื้อหาที่ง่ายขึ้น เป็นลักษณะบทความวิชาการ เป็นการเขียนสรุปประเด็นผ่านงานวิจัย ที่รวบยอดความรู้ หัวข้อใด หัวข้อหนึ่ง ไม่ได้มีเนื้อหาที่บอกถึง วิธีการทำวิจัย การอภิปราย หรือการสรุปผล เหมือนกับบทความวิจัยอย่าง JSCR จะเหมาะกับโค้ช ผู้ฝึกสอน นิสิต นักศึกษา ที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม และนำไปใช้ได้ง่าย

Online Journals

NSCA Coach


NSCA Coach จะเป็นบทความที่ย่อยความรู้ที่เป็นคำแนะนำ เกี่ยวกับ Strength and Conditioning เป็นวิธีการที่นำไปใช้ได้เลย จะมีเนื้อหาที่ง่ายกว่า 2 บทความที่กล่าวไปแล้ว มีตั้งแต่ความรู้ที่เหมาะกับ Strength and Conditioning Coach ระดับเริ่มต้นไปจนถึงมืออาชีพ ครอบคลุมหลายหัวข้อ เช่น Nutrition, Programming, และ Youth เป็นต้น


Personal Trainer Quarterly


Personal Training Quarterly เป็นบทความที่ออกแบบมาเพื่อ Personal trainer เนื้อหาก็จะเจาะจงไปในวิธีการฝึก คำแนะนำในการสอนกลุ่มคนทั่วไป เช่น Nutrition, Programming, and Personal Business Development เป็นต้น


TSAC Report


และสุดท้ายคือ TSAC Report ที่จะมีเนื้อหาเจาะจงไปที่ tactical facilitators and professionals ต่างๆ เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับ performance drills, and conditioning techniques สำหรับ Fire/Rescue, Military, และ Police personnel 


ในแต่ละกลุ่มก็จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันไป โดย NSCA Member จะเป็นผู้ที่ถือ NSCA Cert หรือไม่ก็ได้ สามารถอ่านได้ฟรี 

อย่างที่ได้กล่าวมาทั้งหมดครับ NSCA เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้ผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องกับ Strength and Conditioning ได้มาสร้างมาตรฐานให้กับตัวเอง ได้มาพบปะกัน และท้ายที่สุดคือการพัฒนาวิชาชีพนี้ไปด้วยกัน แม้ NSCA จะไม่ใช่องค์กรในประเทศของเรา แต่เราก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ เรียนรู้ ศึกษาจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ เมื่อวันหนึ่งที่ประเทศของเรามีบ้าง เราก็จะพร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในประเทศที่เข้ามากำกับดูแลเช่นกัน 

WRITTEN BY