Coaching Cues คือ? โค้ชและเทรนเนอร์ไม่รู้ถือว่าพลาด!

Cues คือ คำหรือวลีสั้นๆ ที่โค้ชบอกให้ผู้ฝึกทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการฝึก แบ่งเป็น Internal และ External ตัวอย่างเช่น “นั่ง ย่อ กระโดดแตะเพดาน”
Picture of Tham Thaiyanont, MS, CSCS
what-is-coaching-cues
แยกอ่านทีละหัวข้อ

สำหรับการสอนการเคลื่อนไหว สิ่งสำคัญที่เราต้องการ ก็คือการทำให้คนที่เราสอน “เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น”

 

อาจจะหมายถึง สอนวิ่ง สอนเดิน สอนว่ายน้ำ สอนปั่นจักรยาน สอนท่าออกกำลังกาย หรือไปจนถึงการสอนทักษะกีฬา ที่มีความซับซ้อนมากกว่า ซึ่งคนเป็นโค้ชเองก็ต้องอยากที่จะสอนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จริงมั้ยครับ

 

และแน่นอนว่าการสอนก็ต้องเกี่ยวข้องกับการพูด การใช้ภาษา

 

เมื่อการสอนเกี่ยวกับการพูด การใช้ภาษา นั้นหมายความว่าจริงๆ แล้วเรื่องของภาษา คำที่เราพูดออกไป ก็ต้องมีผลกับการเรียนรู้ และมีผลกับการเคลื่อนไหวที่แสดงออกมา

 

  • คำพูด ประโยคที่พูดตอนเทรนเนอร์สอนลูกค้า
  • Cues สั้นๆ ที่โค้ชวิ่งใช้พูดกับนักกีฬาก่อนฝึกทักษะ
  • หรือการให้ Feedback ของนักกายภาพบำบัด กับคนไข้ในการฝึกการเคลื่อนไหวหลังการบาดเจ็บ

 

มันมีความสัมพันธ์ของการใช้ภาษาของโค้ชกับการเคลื่อนไหวที่นักเรียนแสดงออกมาอยู่ครับ

word-actions-relationship
ภาพแสดงความสัมพันธ์การใช้ภาษาของโค้ชกับสิ่งที่ผู้ฝึกแสดงออกมา

ก็คือ คำที่โค้ชใช้ นำไปสู่ ความคิด ความเข้าใจของนักเรียน แสดงออกมาเป็นการทำทักษะ ที่จะนำไปสู่ Performance ที่เพิ่มขึ้น

Cues คืออะไร

Cues ในความหมายทั่วไป จาก Cambridge Dictionary เป็นทั้งคำนามและคำกิริยา แปลได้ว่า

 

  • n. “a signal for someone to do something” = สัญญาณที่เราบอกกับใครซักคนให้ทำอะไรบางอย่าง
  • v. “to give someone a signal to do something” = ให้สัญญาณกับใครซักคนให้ทำอะไรบางอย่าง

 

สามารถใช้ได้หลายบริบท ดังตัวอย่างใน Cambridge Dictionary เช่น

การแสดง: “a word or action in a play or film that is used as a signal by a performer to begin saying or doing something”

 

ก็เป็นให้สัญญาณให้กับนักแสดง ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปนั่นเอง

 

ถ้าเป็นบริบทของการ Coaching ก็อาจแปลได้ว่า เป็นคำ เป็นวลี ที่โค้ชพูด โค้ชให้ข้อมูล ให้สัญญาณ ให้นักเรียนทำอะไรบางอย่าง เป็นคำอยู่ในหัวของนักเรียนก่อนที่จะเริ่มฝึก

 

ซึ่งต่างกับคำว่า Instruction ที่จะหมายถึงการอธิบายวิธีการทำเป็นประโยคยาวๆ เราสามารถเติมคำว่า Coaching เข้าไป ให้กลายเป็น “Coaching Cues” ก็ได้เช่นกัน เพื่อให้เข้ากับบริบทของการ Coaching แต่ในทีนี้จะขอใช้แค่คำว่า Cues นะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย ไม่ให้คำมันยืดยาวเกินไป

 

Cues เป็นคำ เป็นประโยคสั้นๆ จำง่าย ที่จะบอกว่าในครั้งต่อไป ในเซตต่อไป จะต้องโฟกัสที่อะไร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการฝึกเพิ่มขึ้น เช่น เกร็งท้อง เกร็งก้น เท้าถีบลงไปที่พื้น มองตรงลงไปที่พื้น เป็นต้น

 

Cues จะต้องไม่ใช้คำอธิบายที่ยาว เพราะจะทำให้รบกวนส่วนของความจำของนักเรียนได้ ในขณะที่ฝึกอยู่ เราให้ความสำคัญกับการฝึกที่มีคุณภาพ เคลื่อนไหวได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ การที่ต้องจำคำพูดยาวๆ เพื่อเอาไปบอกตัวเองในขณะฝึกในเซตต่อไป จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก

 

ส่วนการจะแปลออกมาให้เป็นภาษาไทยนั้น ก็ไม่มีคำแปลที่ตรงตัวครับ เอาเป็นว่าใช้ทับศัพท์ไปเลยจะง่ายกว่าว่า “การ Cue”

Cues แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

1) Internal Cues

Internal Cues คือ การใช้คำหรือวลี ให้นักเรียนโฟกัสไปที่ร่างกายของตัวเอง (กล้ามเนื้อ, ข้อต่อ, ระยางค์) เช่น

  • “แทงเข่าขึ้นสูงๆ”
  • “เกร็งก้นเยอะๆ” 

 

การใช้ Cue ประเภทนี้เกี่ยวข้องกับ “Kinesthetic Awareness” เป็นความสามารถในการรู้ว่าส่วนต่างๆ ของร่างกายคุณอยู่ที่ไหนและเคลื่อนไหวอย่างไร 

2) External Cues

External Cues คือ การใช้คำหรือวลี ให้นักเรียนโฟกัสไปที่สภาพแวดล้อมภายนอก (พื้น, เพดาน, กำแพง เป็นต้น)  เช่น

  • “ถีบพื้นไปด้านหลัง” 
  • “กระโดดขึ้นไปหาเพดาน” 

 

ยังไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Kinesthetic Awareness เป็นการให้สัญญาณนักเรียน ให้กับสิ่งแวดล้อมภายนอกมากกว่า โดยไม่ต้องมาพะวงกับร่างกายจะเป็นอย่างไร

ดูๆ แล้วยังมีใครสงสัยมั้ยครับ ว่าแค่คำพูดเนี่ยหรอ จะทำให้เราเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นได้ยังไง เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

 

ลองมาดูงานวิจัยบางส่วนกัน

Dr.Gabriele Wulf ผู้ที่สนใจเรื่องของ Coaching Cues ที่ค้นพบว่า ตัวเองสามารถเริ่มเล่นเสิร์ฟบอร์ดได้ จากการแค่เปลี่ยนคำพูดที่ใช้บอกกับตัวเองระหว่างฝึก จึงเป็นที่สงสัยว่า คำพูด ประโยคที่ใช้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการเรียนรู้การเคลื่อนไหว

 

ได้ทำการศึกษาในทักษะการเสิร์ฟวอลเล่ย์บอล แบ่งออกกลุ่มตัวอย่างเป็น

  1. กลุ่ม Novice ที่ไม่มีประสบการณ์การเล่นวอลเลย์บอลมาก่อนเลย
  2. กลุ่ม Advanced ที่มีประสบการณ์การเล่นวอลเลย์บอล

 

ให้ทั้งสองกลุ่มทำการเสิร์ฟให้ข้ามเนตแล้วให้ลงในตำแหน่งที่กำหนดไว้ ฝึกไป 2 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง

โดยที่แต่ละครึ่งหนึ่งของแต่ละกลุ่ม จะได้ Cues ที่ต่างกัน (ครึ่งหนึ่งได้ External Cues อีกครึ่งได้ Internal Cues) แล้ว สัปดาห์ที่ 3 ก็มาทำการทดสอบเสิร์ฟ 15 ลูก โดยไม่มีการ Cues

 

ลองมาดูผลจากตารางกันครับ

external-cues-vs-internal-cues
กราฟเปรียบเทียบความแตกต่างในการใช้ External Cues กับ Internal Cues ของนักกีฬาระดับ Advanced และ Novice

จากตาราง แน่นอนว่า กลุ่ม Advanced จะมีความสามารถ มีศักยภาพในการเสิร์ฟมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น External หรือ Internal Cues ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ทั้งสองกลุ่มนี้ ครึ่งหนึ่งของคนที่ได้รับ External Cues สามารถเสิร์ฟได้แม่นยำกว่า อีกครึ่งหนึ่งที่ได้รับ Internal Cues และความแตกต่างนี้ ก็ยิ่งชัดขึ้นเมื่อเข้าสู่ Retention Phase แสดงถึงความสามารถในการเรียนรู้ที่ดี ที่ชัดเจนกว่า

 

Cues นี่เอง หลายๆ งานวิจัยก็มีการทำการศึกษาแล้วพบผลไปในทางเดียวกันว่า สามารถเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวได้ เพิ่ม Performance ได้

Cues มีผลกับการเคลื่อนไหวอย่างไร

จากตัวอย่างงานวิจัยด้านบน ก็น่าจะพอเห็นภาพกันบ้างแล้ว ว่า Cues มีผลกับการเคลื่อนไหว อยู่ 2 ประเด็นใหญ่ๆ ครับ

  1. ผ่านการเรียนรู้ หรือผ่าน Motor Learning ครับ
  2. และผ่านการโฟกัสมีสมาธิ การจดจ่อ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Attentional Focus
 

การฝึกทักษะ การฝึกการเคลื่อนไหว ก็เป็นการเรียนรู้แบบหนึ่ง แบบที่เราเรียนหนังสือ เรียนเนื้อหาวิชาการ เพิ่มเติมความรู้ แต่นี่จะเป็นลักษณะของการเรียนรู้ของร่างกาย ก็คือ Motor Learning

 

การที่เราจะเคลื่อนไหว ทำทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ก็ต้องผ่านการฝึกการเรียนรู้ ไปเรื่อยๆ ให้พัฒนา ในระหว่างนั้น

 

คำพูดที่เราใช้ในการ Cue จะเป็นการช่วยให้นักเรียนโฟกัสสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนั้นได้ด้วย หรือเรียกได้ว่า เรียกสติ สมาธิ มาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้

Example of Cues

ตัวอย่างที่ 1

สถานการณ์: เรากำลังสอนท่า Squat และถ้าเราใช้คำว่า…

 

A : “ย่อตัวนั่งลงเหมือนนั่งเก้าอี้” กับ

B :  “นั่งลงตรงๆ เอาก้นลงไปหาพื้น”

 

การเคลื่อนไหวของผู้ฝึกจะแตกต่างกันหรือไม่? ลองดูภาพด้านล่างครับ

squat-with-chair
ภาพ A ท่าฝึก Squat โดยการ Cue ว่า "ย่อตัวนั่งลงเหมือนนั่งเก้าอี้"
squat
ภาพ B ท่าฝึก Squat โดยการ Cue ว่า "นั่งลงตรงๆ เอาก้นลงไปหาพื้น"

ผลลัพธ์คือ การ Cue ด้วยคำพูด “ย่อลงไปเหมือนนั่งเก้าอี้” ทิศทางของก้นเราก็จะทิ่มไปทางด้านหลังมากกว่าการ Cue ด้วยคำพูด “นั่งลงตรงๆ เอาก้นไปหาพื้น”

ตัวอย่างที่ 2

สถานการณ์: ถ้าต้องการจะฝึก Vertical Jump และเราพูดกับตัวเองว่า…

 

A : “กระโดดสูงที่สุด” กับ

B : “กระโดดขึ้นไปแตะเพดานด้านบนให้ได้”

 

แต่ละ Cues ให้ความรู้สึกอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

vertical-jump
ภาพการฝึก Vertical Jump

ผลลัพธ์คือ การ Cue ด้วยคำพูด “กระโดดขึ้นไปแตะเพดานด้านบนให้ได้” อาจทำให้นักกีฬาเข้าใจได้ง่ายกว่า และรู้สึกว่ามีจุดโฟกัสในการกระโดด มากกว่าการ Cue ด้วยคำพูด “กระโดดสูงที่สุด”

External Cues กับ Internal Cues ควรใช้อย่างไรดี

งานวิจัยหลายๆ ชิ้น จะสรุปออกมาไปในทางเดียวกันว่า External Cues ให้ผลที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ 

  • ระดับของผู้ฝึก
  • ความเข้าใจในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • ความเข้าใจในคำพูด
  • ความยากง่ายของทักษะที่กำลังสอน

 

การใช้ Internal Cues 

  • เหมาะกับการอธิบายการเคลื่อนไหวมากกว่า ในช่วง Describe it ของ Coaching Loop
  • สำหรับคนที่พึ่งฝึกใหม่ๆ การได้เรียนรู้การใช้ร่างกาย กล้ามเนื้อ ข้อต่อก่อนก็เป็นเรื่องที่จำเป็น
  • เหมาะกับกลุ่มท่า Isolated Movement

 

การใช้ External Cues 

  • เหมาะกับการโฟกัสไปที่จุดที่สำคัญๆ ในการเคลื่อนไหวนั้น   ในช่วง Cue it ของ Coaching Loop
  • สำหรับ Beginner คนที่พึ่งเริ่มฝึก บางกรณี External Cues อาจจะง่ายกว่า หากเขายังไม่เข้าใจการเคลื่อนไหวมากนัก
  • เหมาะกับท่า Multi-joint Exercises ที่มีการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน 
 
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแบบไหนดีกว่า แบบไหนอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านบนที่ได้กล่าวไปแล้วครับ

ตรงนี้เองที่จะเป็นหน้าที่โค้ชที่จะต้องนำไปทดลอง ไปปรับกับแต่ละเคส แต่ละท่าฝึกที่เราสอน ให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคน 

Power of Cues

คำพูด การใช้คำที่แตกต่างกัน นำไปสู่การชี้นำสิ่งที่จะทำต่อไป เข้าใจอย่างไร และแสดงผลออกมาอย่างนั้น

นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่าง ยังมีอีกหลากหลายท่า และทุกท่า ทุกทักษะนั้น คำที่ใช้มีผลต่อการเคลื่อนไหว

ผมเชื่อว่าใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ ก็น่าจะพอนึกภาพออกกันบ้างนะครับ

 

นี่คืออานุภาพของ Cues ที่มีต่อการเคลื่อนไหวครับ

และมันคืออาวุธสำคัญสำหรับโค้ชเช่นกัน

 

ถ้าเช่นนั้นแล้ว Movement Quality จะสอนให้ใครซักคน “เคลื่อนไหวให้ดีขึ้น” ทำท่าฝึก ทำทักษะ ได้มีคุณภาพ ก็อาจจะเป็นปัญหาจากการ Cues การสื่อสาร ความเข้าใจ ได้เช่นกัน ไม่ต่างจากปัญหาทางร่างกาย (Mobility, Stability) อย่างแน่นอน

COACH AND CRAFT แนะนำ! ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่เต็มอิ่ม ลองดูต่อในคลิปวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลยนะ 😉

what-is-cues

WRITTEN BY