ต้องยอมรับว่า แม้วิทยาศาสตร์การกีฬาจะเข้ามาในประเทศไทยนานเป็น 10 ปี 20 ปีแล้ว แต่วงการกีฬาไทย ก็ยังคงนำไปปรับใช้ นำไป Apply ได้น้อยมากๆ โดยเฉพาะในแง่บริหารจัดการทีม
ถึงเราจะรู้ว่าวิทยาศาสตร์การกีฬาดีแค่ไหน ฝึกแบบไหนจะดี แต่ถ้าไม่ได้มีทีมงานที่เหมาะสมกับงาน ก็ยากที่งานจะออกมาดี มีประสิทธิภาพ
- มีแค่โค้ชทำงานคนเดียวดูทุกอย่าง
- หรือมีทีมงานพร้อม ไม่เคยประชุมทีม ไม่เคยคุยงานกัน วางแผนร่วมกัน ก้าวก่ายการทำงานกัน ทำงานเกินขอบเขต เป็นต้น
เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เป็นอุปสรรคยิ่งกว่า
โดยที่ยังไม่ได้ไปพูดถึงเรื่องพื้นๆ ในความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา อย่างเช่น
- เรายังเคยชินกับการให้โค้ชทำงานคนเดียว สร้างนักกีฬาขึ้นมา
- โค้ชยังเคยชินกับการฝึกซ้อมแบบเก่าๆ
- โค้ช ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ยังคาดหวังผลแบบเดิม ด้วยการซ้อมแบบเดิมๆ
เราเลยจำเป็นต้องเข้าใจ ต้องเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ในการฝึกซ้อม ไม่ใช่แค่นั้น แต่ต้องเข้าใจการบริหารจัดการทีมงานด้วยว่า ในการสร้างนักกีฬาขึ้นมาซักคน ไม่ได้ใช้แค่คนๆ เดียว
คนกีฬาในไทย ไม่ค่อยรู้จัก Strength and Conditioning Coach
เป็นอาชีพที่คนไทยน้อยคนจะรู้จัก ไม่เหมือนกับ Personal Trainer, Group Exercise Instructor เป็นหนึ่งในอาชีพด้านดูแลสุขภาพ
และมักจะถูกไปเหมารวมว่าเป็น Fitness Trainer, Fitness Coach, เป็นเหมือนเทรนเนอร์คนหนึ่ง ใครก็ได้ที่เป็นเทรนเนอร์ก็มาทำได้ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้นซะทีเดียว
Strength and Conditioning Coach จะแตกต่างไปจากอาชีพอื่นๆ ที่ว่า พวกเขาจะทำงานกับนักกีฬาหรือผู้ที่ต้องการพัฒนาสมรรถภาพทางการกีฬาเป็นหลัก (Sports Performance)
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ตรงนี้นี่เองที่ต่างจาก Personal Trainer ปกติทั่วไป
แม้จะมีวิธีการฝึกที่คล้ายกัน เช่น มีการฝึกความแข็งแรงเหมือนกัน มีการฝึกระบบพลังงานเหมือนกัน
แต่รูปแบบที่ใช้ รายละเอียดในโปรแกรม แนวคิดในการออกแบบโปรแกรมนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง
คำว่า Strength and Conditioning คำแปลเป็นภาษาไทย ยังไม่สามารถแปลได้ตรงๆ
พอจะบอกได้คร่าวๆ ว่า การฝึกความแข็งแรงและเสริมสร้างสมรรถภาพ ก็พอจะได้
แต่ให้พวกเราเข้าใจในแบบภาษาอังกฤษไปจะดีที่สุดครับ
Strength and Conditioning Coach มีหน้าที่อะไร
1) พัฒนาสมรรถภาพทางการกีฬา ไม่ใช่สุขภาพ
“The role of any coach is simply to improve athletes’ physical, mental and emotional performance, in preparation for sporting competition. (Dorgo, 2009)”
สมรรถภาพทางกายแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Health-Related Physical Fitness กับ Skilled – Related Physical Fitness
ซึ่ง Skilled-Related Physical Fitness หรือ พัฒนาสมรรถภาพทางการกีฬานี่เองที่ Strength and Conditioning Coach จะต้องโฟกัสและพัฒนา
โดยพัฒนาให้เหมาะสม ให้ตรงกับกีฬานั้นๆ (ได้แก่ Speed, Strength, Power, Agility, Reaction Time และอื่นๆ) ผ่านการออกแบบและพัฒนาระบบการฝึกซ้อมให้กับทีมและนักกีฬาแต่ละคน และทำงานควบคู่ไปกับโค้ชที่สอนทักษะ
ยังรวมไปถึงการสอนท่าออกกำลังกาย ท่าฝึกความแข็งแรงที่ถูกต้อง ดูแล กระตุ้นนักกีฬาในระหว่างการฝึกซ้อม และประเมินสมรรถภาพนักกีฬาก่อนและหลังโปรแกรม
2) ป้องกัน และลดความเสี่ยงการบาดเจ็บของนักกีฬาที่อาจจะเกิดขึ้น
การทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนการฝึกซ้อม เก็บข้อมูลนักกีฬา ประวัติการบาดเจ็บความเสี่ยงต่างๆ แล้ว
ออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมให้เป็นระบบ มีคุณภาพ มีความหนัก ความเบา วันพักอย่างเหมาะสม
กระบวนการต่างๆ เหล่านั้น ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับนักกีฬาด้วย ไม่ใช่คิดแค่เรื่องพัฒนาสมรรถภาพอย่างเดียว
ซึ่งถ้า S&C Coach มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา หลักการในการฝึกซ้อม ก็ไม่ยากที่จะป้องกันความเสี่ยงการบาดเจ็บของนักกีฬา
ถ้าเราสามารถพัฒนาความเร็ว, ความแข็งแรง,พละกำลังไปได้ แต่ถ้าเราไม่สามารถรักษาสภาพร่างกายของนักกีฬาได้ เกิดการบาดเจ็บ โปรแกรมที่เราให้ไปนั้นอาจจะไม่ได้เกิดประโยชน์ ฉะนั้น การป้องกันการบาดเจ็บ จึงเป็นอีก 1 หน้าที่สำคัญที่จะต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาสมรรถภาพ
Strength and Conditioning Coach ทำงานกับใคร ที่ไหน
ด้วยความที่ไทยเรายังไม่ค่อยรู้จักอาชีพนี้กันมาก เราก็ต้องยกตัวอย่างจากต่างประเทศที่เขามีอาชีพนี้กันอย่างแพร่หลาย
Strength and Conditioning Coach เป็นอาชีพที่ทำงานอยู่ในทีมกีฬาทุกๆ ระดับ
มีตั้งแต่ทีมกีฬาโรงเรียนประถม มัธยม ระดับมหาวิทยาลัย ไปจน ทีมชาติ และระดับสโมสร ระดับอาชีพ ทั้งประเภททีมและประเภทเดี่ยว
หลักๆเลยก็จะเป็น นักกีฬาและโค้ชหลักประจำทีม
โค้ชหลักประจำทีม ก็จะวางแผนร่วมกับ Strength and Conditioning Coach ในการฝึกซ้อม โดยโค้ชหลัก ก็จะดูเรื่องทักษะ เทคนิค และแทกติค ส่วน Strength and Conditioning Coach ก็จะดูแลสมรรถภาพทางการกีฬา ให้ร่างกายพร้อมต่อการนำไปสู่การทำทักษะกีฬานั้นๆ
คำว่านักกีฬานี้ อาจจะเป็นนักกีฬาในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย ทีมชาติหรืออาชีพหรือแม้แต่ คนที่มีเป้าหมายในการออกกำลังกายที่หวังผลสมรรถภาพ
คนที่ชอบลงแข่งขันงานกีฬาต่างๆ งานวิ่ง งานจักรยาน งานไตรกีฬา คนกลุ่มนี้ก็สามารถนิยามตัวเองว่าเป็นนักกีฬาได้เช่นกัน
เพราะเมื่อสิ่งที่เราฝึกซ้อมนั้น เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพ การดูแลตัวเองที่ถูกต้องเพื่อให้ร่างกายได้อยู่กับเรา ได้ออกกำลังกาย ได้เล่นกีฬาไปนานๆ เป็นสิ่งสำคัญ
Strength and Conditioning Coach ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
“The consistent application of integrated professional, interpersonal and intrapersonal knowledge to improve athletes’ competence, confidence, connection, and character in specific coaching contexts.”
มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคล และตนเอง เพื่อไปพัฒนานักกีฬาได้ ในแต่ละบริบทที่แตกต่างกัน
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบได้แก่
1) Knowledge
Knowledge ในที่นี้จะหมายถึงทักษะ (skills) ทัศนคติ (attitudes) และพฤติกรรม (behaviours)
ที่แบ่งย่อยไปได้อีก 3 ประเภทดังนี้
- Professional knowledge – มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในแต่ละด้าน และความรู้เกี่ยวกับกีฬานั้นๆ ที่เราจะฝึก ควรที่จะมีความรู้เกี่ยวกับเกมส์การแข่งขัน (Competition Demands) การประยุกต์ใช้สรีรวิทยาและชีวกลศาสตร์การกีฬา เข้าใจหลักการในการออกแบบโปรแกรมการฝึก (Program Planning ) และวางแผนการฝึกซ้อม (Periodization) ควบคู่ไปกับการทดสอบและติดตามผล (Testing and Monitoring)
- Interpersonal knowledge – จำเป็นจะต้องมีทักษะในการสื่อสารกับนักกีฬา กับโค้ช และ/หรือ ผู้ช่วยโค้ช นั้นหมายถึง soft skills ต่างๆ การจัดการอารมณ์ จัดการปัญหา การทำงานเป็นทีมเป็นต้น
- Intrapersonal knowledge – Described หมายถึงการรู้จักตัวเอง สามารถที่จะคิด วิเคราะห์ นำประสบการณ์ ไปปรับใช้ ไปเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ Gilbert and Trudel’s (2001) research examined good coaches and how they translate experience into knowledge and skills through reflection.”
2) Athlete Outcome
คุณสมบัติต่อมาคือ ผลลัพธ์ของนักกีฬา
นอกจาก Performance เพิ่มขึ้น สมรรถภาพทางการกีฬาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความคิดเชิงจิตวิทยาที่เป็นบวก ไม่ว่าจะเป็น ความมั่นใจในตัวเอง แรงกระตุ้นจากภายใน ความมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการซ้อม
Cote and Gilbert (2009) ได้เขียนถึง athlete outcomes เอาไว้ 4 ประเภท ได้แก่ competence, confidence, connection and character/caring. ซึ่งหมายถึงโค้ชก็มีหน้าที่ที่ต้องออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อม วางระบบให้นักกีฬาเกิดการพัฒนาไปตาม 4 ผลลัพธ์เหล่านี้
- Competence – ฝึกซ้อม ปรับปรุง พัฒนาสมรรถภาพร่างกายของนักกีฬาให้ดีขึ้นตรงตามกับชนิดกีฬา
- Confidence – เกิดความมั่นใจในตัวเอง โค้ชและนักกีฬามีเป้าหมายร่วมกัน วางแผนการฝึกซ้อมเป็นระบบ หนักบ้าง เบาบ้าง เกิดความท้าทาย นักกีฬาซ้อมด้วยความเข้าใจ เกิดคุณภาพ นักกีฬาก็เกิดความมั่นใจในตัวเอง เกิดพลังบวก
- Connection – เกิดความสัมพันธ์ เครือข่ายที่ดี ทั้งภายในและภายนอกทีม โค้ช เจ้าหน้าที่ ผู้ปกครอง หรือแฟนกีฬาต่างๆ
- Character – ส่งเสริมคุณลักษณะทางศีลธรรม เช่น ความเคารพ ความซื่อสัตย์ ความเห็นอกเห็นใจ และความรับผิดชอบ ส่งเสริมให้นักกีฬารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาตนเองและสร้างมาตรฐานที่มีคุณภาพ
3) Coaching Context
คุณสมบัติสุดท้ายก็คือ บริบทของการโค้ชที่ส่งผลต่อการทำงานของ S&C coach
Cote and Gilbert (2009) ได้อธิบายและแบ่งประสิทธิภาพในการโค้ช และความเชี่ยวชาญตามบริบทที่เฉพาะเจาะจงดังนี้
- recreational (เพื่อนันทนาการ)
- developmental (เพื่อพัฒนา)
- elite sport (เพื่อความเป็นเลิศ)
มากไปกว่านั้น ยังสามารถพิจารณาบริบทของการโค้ช จากสถานการณ์เพิ่มเข้าไปอีกได้เช่นกัน
- context (individual athlete or team sport, male or female, senior or youth populations)
- employment type (full- or part-time)
- the role (senior position or intern)
- the employer (amateur/professional organization, state-funded or education)
บริบทเหล่านี้ เป็นตัวกำหนด โฟกัส เป้าหมาย และความมุ่งมั่นตั้งใจของ S&C Coach รวมถึงความเฉพาะเจาะจง ความซับซ้อนของโปรแกรมการฝึก เช่น
ถ้า S&C coach ทำงานกับทีมที่อยู่ในช่วงการปั้นทีม ปั้นนักกีฬาขึ้นมาใหม่ การออกแบบโปรแกรม รูปแบบการซ้อมก็ต้องมีความแตกต่างกับ S&C coach ที่ทำงานกับนักกีฬาเดี่ยวอาชีพ ที่ต้องการพัฒนาสมรรภาพในระดับสูง
สิ่งที่ Strength and Conditioning Coach ต้องรู้
จากองค์ประกอบแรกเรื่อง Professional Knowlegde ถือว่าเป็นเรื่องแรก เรื่องหลัก เรื่องพื้นฐาน
เป็นการผสมผสานกันในแต่ละศาสตร์ของวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น ทักษะการออกแบบโปรแกรมที่อยู่บนพื้นฐานความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง พัฒนาร่างกายของมนุษย์ (Physiology), ความเข้าใจการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Biomechanics), การตั้งเป้าหมายและการสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้อง (Psychology), และให้คำแนะนำเบื้องต้นเรื่องโภชนาการ ควรกินอะไร เมื่อไหร่ เพื่อส่งเสริม การ Recovery และ Performance
ลองมาดูกันครับ ว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่ S&C Coach ต้องรู้ แบ่งตามศาสตร์ของวิทยาศาสตร์การกีฬา ดังนี้
5 ขั้นตอนการทำงานของ Strength and Conditioning Coach
Step 1: Analysis (and re-analysis)
- Athlete Background/Objective – เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาวของนักกีฬาเป็นอย่างไร, เราจะติดตามผลความสำเร็จอย่างไร, มีประวัติการบาดเจ็บอะไรบ้าง, ประสบการณ์การฝึกซ้อม, อายุของนักกีฬา
- Sport/Competition Demands – มีการแข่งขันกี่แมทช์ที่จะลงทำการแข่งขัน, ความถี่ของแมทช์การแข่งขัน, ความสำคัญของแต่ละแมทช์, ฤดูกาลแข่งขันยาวนานแค่ไหน, ต้องเดินทางมั้ย, โอกาสการเกิดการบาดเจ็บในกีฬา รวมถึงกลไกการบาดเจ็บทั่วไปด้วย
- Postural and Movement Screening – ประเมินการเคลื่อนไหวแบบไหน, ประเมินแบบนั้นเพราะอะไร, มี Movement dysfunctions หรือไม่, อะไรทำให้เกิด Movement dysfunction, ผลกระทบต่อการถ่ายโอนแรงผ่าน Kinetic Chain และโอกาสการเกิดการบาดเจ็บ
- Physical Performance Testing – กำหนดตัวชี้วัด ตัวแปรความสำเร็จในกีฬา, strength/power/speed/agility/endurance tests, ทดสอบด้วย laboratory หรือ field-based testing, ความเที่ยงในการทดสอบ (reliability and measurement error), ความตรงในการทดสอบ (validity of test), แปลผลการทดสอบอย่างไร
Step 2: Planning (within context)
- Periodization – วางแผนการฝึกซ้อมรายปี เป็นอย่างไร แต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ซ้อมอย่างไร ตอนไหนต้องหนัก ตอนไหนต้องเบา ตอนไหนต้องพัก ซ้อมเทคนิคทักษะตอนไหน ซ้อมสมรรภาพตอนไหน
- Exercise programming – โปรแกรมการฝึก วิธีการฝึกซ้อม ท่าฝึกต่างๆ เป็นอย่างไร
- Rehabilitation/Prehabilitation – วิธีการฝึกซ้อม การฝึกทักษะกีฬา มีความเสี่ยงการบาดเจ็บอะไรมั้ย ตอนไหนที่ควรจะทำ prehabilitation ป้องกันการบาดเจ็บ ตอนไหนต้องส่งต่อให้วิชาชีพอื่น ต้องฟื้นฟูการบาดเจ็บอย่างไร เมื่อนักกีฬารักษาอาการบาดเจ็บหายแล้ว
- Non-Contact Coaching – คำแนะนำเรื่องโภชนาการ, การนอนหลับ, ความสะอาด, การเตรียมตัวกับสภาพอากาศ time zones หรืออื่นๆ
Step 3: Coaching
- Professional knowledge – ประยุกต์ใช้หลักการอย่างไร, เข้าใจกีฬา เกมส์การแข่งขัน, วิธีการสอน การฝึกซ้อมแบบไหน เหมาะกับนักกีฬาคนไหน
- Interpersonal knowledge – เราจะสื่อสารกับนักกีฬา โค้ช เจ้าหน้าที่อย่างไรได้บ้าง, ทักษะในการใช้ Cues ที่เหมาะสม (internal vs. external)
- Intrapersonal knowledge – เราจะประเมินผลในแต่ละ Session มั้ย เราจะประเมินอย่างไร
- Confidence, Connection, Character – อะไรที่ช่วยกระตุ้นนักกีฬาได้ดี, อะไรจะช่วยให้นักกีฬามีความมั่นใจมากขึ้น, เราจะเป็นตัวอย่าง เป็นผู้นำที่ดีให้กับนักกีฬาได้อย่างไร, เราจะสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในการฝึกซ้อมได้อย่างไร
Step 4: Monitoring
- Monitor Training Load (TL) and Responses to TL – การติดตามผลความหนักในการฝึกซ้อม จะใช้วิธีไหน วัดผลด้วยตัวแปรใด ตอนนี้ซ้อมหนักไปหรือยัง วัดผลทางสรีรวิทยาอย่างไร วัดผลทางจิตวิทยาอย่างไร
Step 5: Recovery
- วางแผนการพัก การฟื้นฟูให้นักกีฬาอย่างไร ใช้วิธีการไหนบ้าง
จากนั้นก็วนกลับไปที่ Step 1 คือการ Analysis ใหม่อีกครั้ง
สรุปขอบเขตของ Strength and Conditioning Coach
จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้ว งานของ S&C Coach ไม่ได้มีเพียงการสอนในแต่ละ Session เท่านั้น ยังมีงานเบื้องหลัง งานหลังบ้านอีกมากมายที่ต้องทำ ที่ดูแล้วมีความเฉพาะเจาะจงกับการพัฒนานักกีฬามากๆ ที่แตกต่างกับงาน Personal Trainer อย่างสิ้นเชิง
ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในหลักการการฝึก หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาต่างๆ มีศิลปะในการสอน การ Coaching หรือเรียกได้ว่าต้องมีความเป็นโค้ช และมีความเป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬาอยู่ในคนเดียวกัน
นักกีฬาจะประสบความสำเร็จได้ ไม่ได้ใช้เพียงโค้ช หรือใครเพียงคนเดียว S&C Coach เป็นอีกหนึ่งคนที่มีความสำคัญมากๆ กับนักกีฬา
“หากคุณเป็นนักกีฬา เป็นผู้ปกครอง หรือเป็นโค้ชกีฬา ลองมองหา Strength and Conditioning Coach มาร่วมทีมดูครับ คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน”