Coaching ให้ดี vs Programming ให้โดน ควรโฟกัสอะไร?

Coaching คือ การสอน แนะนำ และสาธิตท่าออกกำลังกายต่างๆ ให้นักเรียนเข้าใจและทำตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ Programming ก็สำคัญเช่นกัน ควรวางแผนร่วมกันอย่างเหมาะสม
Tham Thaiyanont, MS, CSCS
coaching-vs-programing
แยกอ่านทีละหัวข้อ

Programming is the Science But Coaching is the Art

การออกแบบโปรแกรมออกกำลังกายเป็นเหมือนขุมพลังหรืออาวุธของโค้ชหรือเทรนเนอร์ ที่จะใช้เป็นเครื่องมือวางแผนว่าจะต้องฝึกอะไร ทำอะไรบ้าง

 

  • เป้าหมายของนักกีฬา ของนักเรียนคืออะไร
  • ต้องเล่น ต้องฝึกท่าอะไรบ้าง
  • ต้องเล่นกี่ Set กี่ Reps
  • ต้องพักเท่าไหร่

 

เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะพานักเรียนไปสู่เป้าหมายได้

 

การออกแบบโปรแกรมต้องใช้เวลา แม้เบื้องหลังจะมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่เบื้องหน้า ก็ต้องอาศัยศิลปะในการออกแบบไม่น้อย เพราะนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่าง มีความเฉพาะเจาะจงกันไปคนละแบบ จึงไม่มี One Size Fit all สำหรับการออกแบบโปรแกรม

 

จากนั้นเราก็เอาสิ่งที่เราออกแบบมา มาใช้สอนในแต่ละ Session แต่ละสัปดาห์

Programming กับ Coaching เราใช้เวลาตรงไหนมากกว่ากัน?

ภาพตัวอย่างโปรแกรมออกกำลังกาย
ภาพตัวอย่างโปรแกรมออกกำลังกาย

Programming คือ สิ่งที่เราคิด ออกแบบ กำหนดให้นักกีฬาทำ (ท่า จำนวนครั้ง เซต เวลาพัก และอื่นๆ) ซึ่งการออกแบบโปรแกรม 1 ครั้งอาจจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง หรือเป็นวันๆ

 

หลังจากนั้น ก็เป็นการปรับโปรแกรมใหม่ เปลี่ยนท่า เปลี่ยนจำนวนครั้ง เป็นเซต หรืออื่นๆ ซักสัปดาห์ละครั้งหรือ 6-8 สัปดาห์ ก็แล้วแต่โปรแกรมไป

 

แล้วเวลาที่เหลือเราทำอะไร?…แน่นอนว่าควรเป็นการสอน หรือเรียกว่า Coaching ในแต่ละ Session นั่นแหละ

 

Coaching คือ การสอน การให้คำแนะนำ ถึงวิธีการทำ ทำท่านั้น ทำอย่างไร ต้องยกแบบไหน ต้องรู้สึกอย่างไร ซึ่งตรงนี้เองก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออกแบบโปรแกรมเลย

Coaching ที่ดีส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักกีฬา

ภาพโค้ชและนักกีฬา ระหว่างฝึกซ้อม
ภาพโค้ชและนักกีฬา ระหว่างฝึกซ้อม

เราเริ่มให้ความสำคัญกับ Movement Quality กันมากขึ้น เราจะต้องทำท่าให้ถูก มีร่างกายที่พร้อมจะเคลื่อนไหว ตัวไม่ตึง ไม่ติด มีปัญหาทางร่างกายให้น้อยที่สุด มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงพร้อมที่จะฝึก สิ่งเหล่านี้นี้คือเรื่องของร่างกาย

 

สิ่งหนึ่งที่เราไม่รู้ หรือลืมนึกถึงไป ว่ามีอีกอย่างหนึ่งที่ควบคุมการทำงานของร่างกายอยู่ก็คือ “สมอง” ซึ่งมีผลกับการทำงานของร่างกายไม่ว่าจะนอกเหนืออำนาจจิตใจ หรือภายใต้อำนาจจิตใจ ที่เราจะทำท่าได้ถูกต้อง หรือเราจะสอนนักเรียนให้ทำท่าได้ถูกต้อง ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถตรงนี้ด้วยเช่นกัน

 

อย่างบทความก่อนหน้าที่ได้พูดถึง Motor Learning ว่าสมองเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ เรียนรู้ผ่านการฝึกฝนจนชำนาญ และเรียนรู้ผ่านการสอนจากเราในฐานะโค้ช

 

ดังนั้น สิ่งที่เราพูด สิ่งที่เราสอน ย่อมมีผลกับการฝึกของนักเรียนเช่นกัน จะทำถูก จะเข้าใจหรือไม่ ก็อยู่ที่ตรงนี้

Coaching = Two-way Communication

อย่างไรก็ตาม Coaching เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง และที่สำคัญคือเป็นการสื่อสารแบบไป-กลับ ผู้รับสารสามารถมี feedback โต้ตอบได้ นั่นหมายถึงมีปัจจัยอยู่ 2 อย่างที่จะทำให้การ Coaching มีประสิทธิภาพ คือ

 

  1. ฝั่งของนักเรียน – นักเรียนแต่ละคนมีประสบการณ์ มีความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ ความสามารถใยการจดจ่อ
  2. ฝั่งของโค้ช – ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่สอน การใช้ภาษา วิธีการ รูปแบบในการสอน การให้ Feedback และประสบการณ์

 

ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ ในฝั่งของโค้ช มีผลกับองค์ประกอบของต่างๆ ในฝั่งของนักเรียนมากๆ ครับ เพราะนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทำให้เราต้องเข้าใจความแตกต่าง และปรับวิธีการสอนของเราเอง ให้เหมาะสมกับแต่ละคน

สรุป

เมื่อเจอเคสที่เยอะขึ้น เราจะค่อยๆ มีประสบการณ์ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงนั้น แล้วเราจะ Coaching ได้เก่งขึ้นเอง

 

ด้วยความที่การ Coaching เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น อาจจะไม่ได้มองเห็นได้เป็นรูปธรรม ทำให้เราไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอย่างที่คิด อยู่ในทุกๆ วันที่เราสอน

 

ลองสังเกตและโฟกัสกับวิธีการสอนของเรากับนักเรียนหรือนักกีฬาแต่ละคนดูนะครับ บางทีเมื่อเราปรับเปลี่ยนวิธีให้เหมาะสมมากขึ้น อาจทำให้นักเรียนโฟกัสกับการฝึกได้มากขึ้น ส่งผลกับคุณภาพในการเคลื่อนไหว และทำให้ Session นั้นเป็น Session คุณภาพอีก Session หนึ่งเลยก็ได้

สำหรับใครที่ต้องต้องการอัพสกิลการเป็นโค้ชหรือเทรนเนอร์ COACH AND CRAFT ขอแนะนำบทความ Coaching Loop และ Coaching Cues ลองนำไปปรับใช้กับการสอนของตัวเองดูนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน 😉

WRITTEN BY

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *