จะฝึกซ้อมนักกีฬาให้ได้ดี ต้องเข้าใจกีฬานั้นๆ ให้ได้มากที่สุด สำหรับคนที่เรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา แล้วสนใจที่จะทำงานกับนักกีฬา ต้องการต่อยอดไปเป็น Strength and Conditioning Coach หรือไปเป็น Sports Scientist ประจำทีม เพราะเรื่องความเข้าใจในกีฬาเป็นสิ่งสำคัญ
แต่ก่อนหรือแม้แต่ตอนนี้อาจจะยังมีความเชื่อว่า จะไปฝึกนักกีฬาได้ดี ก็ต้องเคยเล่น เคยเป็นนักกีฬามาก่อน แต้ในความเป็นจริง สำหรับ Strength and Conditioning Coach ผู้ที่ทำหน้าที่ฝึกสมรรถภาพของนักกีฬา อาจจะไม่เป็นแบบนั้นเสมอไป แม้จะไม่เคยนักกีฬาชนิดนั้นมาก่อน ก็สามารถที่ฝึกนักกีฬาชนิดนั้นได้เช่นกัน ถ้าเรา “วิเคราะห์กีฬา” เป็น
Need Analysis
“The needs analysis is the process of determining what qualities are necessary for the athlete, the sport, or a combination of both.” – science for sport
Need Analysis หรือการวิเคราะห์ความต้องการของกีฬา เป็นเหมือนหมุดหมายแรกที่จะช่วยให้เราเข้าใจกีฬาในแง่ของสมรรถภาพต่างๆ ได้มากขึ้น ทำให้เราไม่หลงทางไป ไปฝึกอะไรที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับกีฬา
การวิเคราะห์ความต้องการสมรรถภาพในแต่ละกีฬา มีการนำเสนอในหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นของ National Strength and Conditioning Association, ตำราเกี่ยวกับ Strength and Conditioning ต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายลักษณะขึ้นอยู่กับแหล่งที่มานั้นนำเสนออย่างไร
สำหรับบทความนี้ผมจะขอยกตัวอย่างจาก Science for Sport ที่ได้นำเนื้อหาบางประเด็นจาก NSCA มาต่อยอดและสรุปไว้ได้ค่อนข้างดี
Need Analysis แบ่งออกได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ
- Sport-oriented Need Analysis – การวิเคราะห์สมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกีฬา (detailed analysis of the physical demands of a sport) และ
- Athlete-oriented Need Analysis – การวิเคราะห์สมรรถภาพของตัวนักกีฬา (physical profile of the athlete) หรือภาษาที่เราเข้าใจง่ายๆ ก็คือคล้ายๆ การทดสอบสมรรถภาพของนักกีฬานั้นเอง
สำหรับบทความนี้จะขอพูดถึงประเด็นของ Sport-oriented Needs Analysis เป็นหลักนะครับ
เราสามารถแบ่งองค์ประกอบย่อยไปได้อีก 4 องค์ประกอบครับ ได้แก่
- Sport Analysis (วิเคราะห์ชนิดกีฬา)
- Biomechanical Analysis (การวิเคราะห์ด้านการเคลื่อนไหว)
- Physiological Analysis (การวิเคราะห์ด้านสรีรวิทยา)
- Injury Analysis (การวิเคราะห์ด้านการบาดเจ็บ)
Sport Analysis
เริ่มแรกเลย เราต้องวิเคราะห์ตัวกีฬากันก่อน กีฬานั้นเป็นอย่างไร, ธรรมชาติของกีฬา ลักษณะของกีฬา เป็นอย่างไร ซึ่งเป็นรายละเอียดที่สำคัญ ที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป เพราะถ้าไม่ได้คิดถึงตรงนี้ การวิเคราะห์องค์ประกอบอื่นๆ รวมถึงการออกแบบโปรแกรมก็ทำให้มีประสิทธิภาพได้ยากครับ เราวิเคราะห์ประเด็นอะไรได้บ้าง ตัวอย่างเช่น
- ตารางการแข่งขัน (competition schedule)
- กีฬาทางน้ำ หรือทางบก (land- or water-based)
- ระดับของการแข่งขัน (what competition level (i.e. professional or amateur))
- ระยะเวลาการแข่งขัน (the duration of the sport; are there any stoppages/rest times)
- ตำแหน่งในการเล่น (What position does the athlete play; is there more kicking, running, throwing in that position; maximal and/or sub-maximal speed)
- อุปกรณ์ที่ใช้ (what equipment is used.)
องค์ประกอบดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดความแตกต่างกันของแต่ละกีฬา และก็จะนำไปสู่การกำหนดองค์ประกอบด้านอื่นๆ ต่อไป เช่น
- ตารางการแข่งขัน ที่บางกีฬาจะเป็นลักษณะของฤดูกาล มีการแข่งขันติดๆ กันทุกสัปดาห์เป็นช่วงเวลานานๆ หรือบางกีฬาอาจจะไม่ได้เป็นลักษณะของฤดูกาล ระยะเวลาห่างของแต่ละการแข่งขันค่อนนาน ก็ทำให้การออกแบบโปรแกรมนั้นแตกต่างกันได้
- หรือระดับการแข่งขัน เป็นแค่ประเภท Recreational หรือเป็นระดับ Competitive ความคาดหวังของผลการแข่งขันก็มีความต่างกัน และส่งผลต่อการวางระบบ การออกแบบการฝึกซ้อมเช่นกัน
Biomechanical Analysis
หลังจากที่ได้ข้อมูลของกีฬามาแล้ว แน่นอนว่าแต่ละกีฬาก็จะมีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน บางกีฬาก็มีการเคลื่อนไหวรูปแบบเดียวต่อเนื่องไปที่เรียกว่า Continuous Skill อย่าง Running, Swimming, Cycling หรือจะเป็นการเคลื่อนไหวรูปแบบเดียวที่ไม่ต่อเนื่อง ที่เรียกว่า Discrete Skill อย่าง Hitting, Throwing หรือ Kicking หรือจะผสมผสานกันไปหลายๆ การเคลื่อนไหวก็ตาม ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวอาจเลือกจากการเคลื่อนไหวที่สำคัญ จำเป็นและหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งทาง Performance ได้ เช่น การเสิร์ฟในเทนนิส, การตีลูกตบในแบตมินตัน, วงสวิงในกอล์ฟ, การกระโดดและการ Landing ในบาสเกตบอลหรือวอลเล่ย์บอล เป็นต้น
จากนั้นเราก็จะมาวิเคราะห์การเคลื่อนไหวเหล่านี้ทั้งในแง่ของ Kinetics และ Kinematics
Kinematics คือการวิเคราะห์เรื่องของมุมการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวแบบใด เป็นอย่างไร ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เช่น มีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างไร (sprinting, jogging, walking, shuffling) หรือมีการเคลื่อนที่ไปด้านข้างด้วย (lateral shuffling), มีการหมุนตัวหรือป่าว (twisting), มีการกระโดดด้วยมั้ย (jumping) กระโดดขาเดียวหรือสองขา (one-leg/ two-leg), มีการทุ่ม การขว้างมั้ย (throwing), มีการทรงตัวหรือป่าว (balancing), การก้าวขาไปด้านหน้า (lunging), รวมถึงการแท๊ค (tackling) เป็นต้น
ส่วน Kinetic ก็คือวิเคราะห์เรื่องของแรง การทำทักษะแต่ละทักษะ ในระหว่างการแข่งขัน มีแรงกระทำต่อร่างกาย ร่างกายออกแรงอย่างไรบ้าง เช่น Ground reaction force, ลักษณะของความสัมพันธ์ force-time, power-time, velocity-time เป็นอย่างไร เช่น peak force, rate of force development, eccentric rate of force development, impulse, ground contact time, torque, peak power output, average power output, peak velocity, time to peak velocity และ average velocity เป็นต้น
จะพูดให้ยากทำไมกัน เอาง่ายๆ ก็คือ วิเคราะห์ให้ได้มากที่สุดว่า
- การเคลื่อนไหวเป็นอย่างไร รูปแบบไหน (Kinematic) เช่น jumping, throwing, lunging
- มีแรงอะไรบ้างที่สำคัญกับการเคลื่อนไหวของกีฬานั้นๆ (Kinetic) เช่น ground contact time, ground reaction force และการออกแรงนั้นเป็นลักษณะใด ต้องเร็วแรงหรือไม่
Physiological Analysis
การวิเคราะห์ด้านสรีรวิทยาน่าจะเป็นการวิเคราะห์ที่หลายคนจะคุ้นเคยที่สุด เป็นการวิเคราะห์ว่า Strength, Power, Endurance, Agility, Speed, Energy System เป็นอย่างไร มีความเฉพาะเจาะจงอย่างไรบ้าง
ตัวอย่างเช่น
- Strength ในนักกีฬากอล์ฟ ควรจะต้องเป็นอย่างไร, Strength ในนักกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างไร
- Power ในนักกีฬาเทนนิส, Power ในนักกีฬาวิ่งทางไกล, Power ในนักกีฬาวิ่งระยะสั้น
- หรือจะลงรายละเอียดไปถึง Internal Factor อื่นๆ เช่น Average heart rate, maximum heart rate, VO max, average VO, Lactate threshold, anaerobic capacity, anaerobic power, total number of sprints, sprints per minute, high-intensity running, total jumps, total number of direction changes. ก็ได้เช่นกัน
เราจะต้องลองวิเคราะห์ดูว่า สมรรถภาพ (ภาษาอังกฤษนั้นใช้อยู่หลายคำไม่ว่าจะเป็น Physical Fitness, Physical Qualities, Physical Performance เป็นต้น) ที่นักกีฬาจำเป็นต้องมีนั้นมีอะไรบ้าง เช่น Strength หรือความแข็งแรงนี้เอง ก็มีอยู่หลายแบบ สามารถมองได้หลายมุม เพราะถึงแม้จะเป็น Strength เหมือนกัน Power เหมือนกัน แต่รูปแบบ คุณสมบัติ หรือลักษณะของ Strength หรือ Power ที่ว่าก็อาจจะไม่เหมือนกัน และอย่าง Strength, power, speed เอง สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งแง่ของ Biomechanics และ Physiology
Strength โดยทั่วๆ ไป ที่นักกีฬา “ทุกคน” จำเป็นจะต้องมี อย่าง Maximal Strength
Reactive Strength ที่เป็นความสามารถในการ apply ground reaction force ให้มี ground reaction time น้อยที่สุด เพื่อกระโดดซ้ำ หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงทิศทาง
Power ที่เป็นลักษณะการออกแรงครั้งเดียว อย่างกีฬาทุ่ม พุ่งขว้าง
Power ที่เป็นลักษณะการออกแรงหลายๆ ครั้งในการแข่งขันครั้งหนึ่ง
หรือจะเป็นเรื่องของ Speed, Change of Direction และ Agility
Speed ของกีฬาที่เราจะวิเคราะห์ เป็น Speed แบบใด ในระยะกี่เมตร 5, 10,20 หรือ 40 เมตร
Change Direction แบบไหน หรือเป็น Agility ที่รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทิศทางเป็นแบบที่ต้องการตอบสนองกับสิ่งเร้าอื่นๆ มั้ย เช่น กับคู่ต่อสู้
ถ้าเป็นเรื่องระบบพลังงาน
กีฬาที่เรากำลังสนใจ ใช้ระบบพลังงาน Aerobic และ Anaerobic อย่างไร
ทุกกีฬามีการใช้ระบบพลังงานทั้งสองระบบนะครับ อยู่ที่ว่าใช้อย่างไร ในแต่ละสถานการณ์
บางกีฬาอาจจะใช้ระบบ Aerobic เป็นหลัก คือใช้เป็นพลังงานในการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ ทำทักษธ ทำกิจกรรมกีฬานั้น อย่างกีฬา Endurance Sport แต่บางกีฬาอาจจะใช้ ระบบ Aerobic เป็นระบบที่ช่วย Recovery ในช่วงพักสั้นๆ อย่างกีฬา Intermittent Sport
ในทางกลับกันระบบ Anaerobic สำหรับกีฬา Endurance Sport เป็นเหมือนก๊อกสอง เป็นสิ่งที่จะงัดออกมาในช่วงเวลาสำคัญๆ การเร่งความเร็ว การรักษาความเร็วสูงๆ ในการแข่งขันที่ระยะไม่ได้ไกลมาก แต่ถ้าสำหรับกีฬา Intermittent Sport ก็ถือว่าเป็นระบบพลังงานหลัก
Injury Analysis
เมื่อนักกีฬามีการเคลื่อนไหวในชนิดกีฬาของตัวเองที่ต่างกันไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บได้ต่างกันไปเช่นกัน เราก็จะต้องมีข้อมูลเหล่านี้เอาไว้ เพื่อที่จะได้ป้องกัน ลดความเสี่ยงผ่านการออกแบบโปรแกรมการฝึกให้ได้มากที่สุด ซึ่งการวิเคราะห์การบาดเจ็บก็จะเชื่อมโยงกับการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวแบบใดๆ มากๆ แล้วร่างกายไม่ได้แข็งแรง ก็เสี่ยงที่จะบาดเจ็บได้
ตัวอย่างเช่น:
- Common injuries ในแต่ละกีฬา หรือในตำแหน่งการเล่น เป็นอย่างไร
- จะเกิดจุดไหนบ้าง ข้อไหล่ ข้อเท้า ช้อเข่า ข้อสะโพก
- มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ความถี่ที่จะเกิดขึ้น
- สามารถบาดเจ็บเป็นแบบใดได้บ้าง เป็น Acute injury แบบอุบัติเหตุฉับพลัน หรือเป็น Overuse injury ที่เกิดจากการทำการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เป็นต้น
การวิเคราะห์ทั้ง 4 องค์ประกอบ เป็นพื้นฐาน เป็นเพียงข้อมูลของชนิดกีฬาเท่านั้น ก็จะเห็นได้ว่า มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ต้องวิเคราะห์กันมากมาย ยังไม่รวมถึงข้อมูลของนักกีฬาเฉพาะบุคคลที่จะเอามาประกอบกัน นำมาเปรียบเทียบแล้วตั้งเป้าหมาย นำไปออกแบบเป็นแผนการซ้อมระยะยาว เป็นโปรแกรมการฝึกซ้อม ข้อมูลเหล่านี้เป็นเหมือนหมุดหมายแรกที่จะนำทางเรา ให้เราเข้าใจกีฬา ให้เราไม่หลงทาง ไปออกแบบอะไรที่เกี่ยวข้อง ที่อาจจะทำให้นักกีฬาไม่พัฒนา หรือซ้ำร้ายกว่านั้น คือทำให้นักกีฬาบาดเจ็บได้
หากเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬามาแล้ว Strength and Conditioning Coach หรือ Sport Scientist ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นนักกีฬาชนิดนั้นๆ มาก่อนครับ เพราะเรามี Guideline มี Framework สำหรับการวิเคราะห์ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกบางอย่างที่อาจจะต้องใช้งานวิจัย ก็สามารถค้นหาได้ผ่านช่องทางต่างๆ มากมาย
บางครั้งโค้ช หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกีฬา ก็อาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดบางช่วงบางตอน บางองค์ประกอบก็ค่อนข้างเป็นข้อมูลเชิงลึกในวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงมีความจำเป็น ที่ในทีมกีฬา หรือแม้แต่คนทั่วไปที่ชอบลงแข่งรายการกีฬาต่างๆ อยู่บ่อยๆ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ในทีม อาจจะเป็น Strength and Conditioning Coach หรือ Sport Scientist ก็สุดแล้วแต่
ข้อมูลอ้างอิง
-
https://www.scienceforsport.com/needs-analysis/#:~:text=should%20be%20spent.-,What%20is%20a%20Needs%20Analysis%3F,the%20sport%20and%20the%20athlete.
-
Haff, G. G., & Triplett, N. T. (Eds.). (2015). Essentials of strength training and conditioning 4th edition. Human kinetics.