Coaching is the Key
การ Coaching เป็นสิ่งที่โค้ชหรือเทรนเนอร์เอง ทำอยู่ในทุกๆ วัน เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยทำให้การฝึกซ้อมในครั้งนั้นๆ มีประสิทธิภาพ และยังเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันด้วย
การสอนท่าหรือทักษะการเคลื่อนไหวอะไรซักอย่างหนึ่ง ก็จะต้องอาศัยคำพูด การใช้ภาษา สื่อสารให้เข้าใจ เพื่อให้นักเรียนสามารถฝึกได้ดี ได้ถูกต้อง
- ท่านี้คือท่าอะไร ทำแล้วประโยชน์อะไร
- ท่านี้ทำอย่างไร แบบไหนถูก แบบไหนผิด ต้องโฟกัสตรงไหน
- นักเรียนทำแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ต้องแก้อะไรต่อ
หากลองคิดตามข้อความด้านบน หลายคนก็น่าจะมองเห็นภาพมากขึ้น ว่าเนี่ย เราก็ใช้สอนนักเรียนอยู่ทุกวัน
ไม่ใช่แค่การ Programming ที่มีทฤษฎี มีรูปแบบ มี Framework หรือ Guideline ให้เราได้เอาไปใช้
แต่การ Coaching เอง ก็มีเช่นกัน เช่น Tell, Show, Do
- Tell คือ การบอกว่า เรากำลังจะสอนท่าอะไร ท่านี้ได้อะไร มีประโยชน์อย่างไร
- Show คือ การที่โค้ชสาธิตท่าให้ดู ว่าทำอย่างไร ให้ถูกต้อง
- Do คือ การให้นักเรียนลงมือทำให้โค้ชดู
จากบทความที่แล้ว ที่ได้พูดถึง Tell Show Do ไป แต่ก็มีบางจุดที่ยังไม่ครอบคลุมการ Coaching ที่ยังขาดในส่วนของการให้ Feedback ไป ที่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้โค้ชสามารถบอกหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับนักเรียนได้ ว่าจะต้องแก้ไขอะไรอย่างไร
Coaching Communication Loop
Coaching Communication Loop พัฒนาโดย Dr.Nick Winkelman จากหนังสือ Language of Coaching
ที่อธิบายการสื่อสารระหว่างโค้ช เทรนเนอร์ นักกายภาพบำบัด กับนักเรียน นักกีฬา หรือคนไข้ ก็แล้วแต่บริบท
ที่ไม่ได้จำกัดแค่การบอกว่าคือท่าอะไร ทำอย่างไร เท่านั้น แต่มีการบอกถึงสิ่งที่ต้องโฟกัส และการให้ Feedback
Coaching Communication Loop ประกอบไปด้วย 5 Step ลองมาดูตัวอย่างการใช้ไปพร้อมๆ กันครับ
ตัวอย่าง : โค้ชธามกำลังสอนท่า Squat ให้นักเรียนคนหนึ่งชื่อพี่ตู้ ที่เริ่มออกกำลังกายเป็นครั้งแรก ยังไม่เคยฝึกท่าใดๆ มาก่อนเลย พี่ตู้ฝึก Squat มาได้ 1 สัปดาห์แต่ก็ยังมีข้อสังเกตบางอย่างที่ยังต้องแก้อยู่
Step 1: Describe it
Coach T : “จาก Session ที่แล้วนะครับพี่ตู้ Squat พี่ทำได้ดีขึ้นมากเลยครับ แต่ก็ยังมีบางจุดที่เรายังต้องแก้กัน พี่พอจะจำได้มั้ยครับว่ามีอะไรบ้าง”
P’Tu : “ยังเหลือบางจังหวะที่เข่าอาจจะหุบเข้าในครั้งท้ายๆ ของแต่ละเซตนะครับ และช่วงย่อลงก็จะวืดๆ ลงไปเร็ว ไม่ค่อยได้เกร็งกล้ามเนื้อต้านลงไปเท่าไหร่ พอยืนขึ้นมาบางทีก็โดนหลัง”
Coach T : “เยี่ยมเลยครับ เดี๋ยวเรามาฝึกต่อกัน”
Step 1 ก็คือการอธิบายถึงท่าฝึกที่กำลังจะทำ หรือเป็นการทวนการฝึก การ Setup ท่า หรือองค์ประกอบอื่นๆ ในการฝึก ตรงนี้เป็นช่วงที่เราเต็มที่กับการให้ข้อมูลได้ ทำอย่างไร ต้องรู้สึกแบบไหน ถูกเป็นแบบใด ผิดเป็นแบบไหน แต่จะต้องไม่ใช่คำศัพท์ที่ยาก หรือเป็น Technical Term มากจนเกินไป
Step 2: Demonstrate it
Step 3: Cue it
Coach T : “Setup เหมือนเดิมนะครับ พี่ยืนเกร็งท้อง ทำท้องแข็งๆ เกร็งก้นเล็กน้อย สำหรับเซตนี้ผมขอพี่ ค่อยๆ ย่อลง นั่งลงตรงๆ ช้าๆ นะครับ”
P’Tu : “Ok ครับ”
Step นี้จะเป็นขั้นตอนสำคัญที่เราจะเลือก “คำหรือวลี” ที่จะให้กับนักกีฬา เพื่อให้นักกีฬาโฟกัสกับสิ่งนั้น ก่อนที่เขาจะเริ่มฝึกในเซตแรก ให้เลือกจากสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับนักกีฬาคนๆ นั้น
Step 4: Do it
โค้ชธามก็ไปยืนด้านหน้าของพี่ตู้ เพื่อที่จะสังเกตอาการเข่าหุบได้อย่างชัดเจน สลับไปกับการยืนด้านข้างเพื่อดู Alignment อื่นๆ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน และความเร็วในการย่อลง แล้วพี่ตู้ก็ทำท่า Squat ในเซตแรกไปได้อย่างสวยงาม
- สิ่งที่สำคัญอย่างแรกคือ โค้ชจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นการเคลื่อนไหวของนักเรียนได้ชัดเจน
- สิ่งที่สำคัญอย่างที่สองคือ โค้ชจะต้องไม่พูดมาก หลีกเลี่ยงคำพูดที่ไม่จำเป็น ที่จะทำให้นักเรียนหลุดโฟกัสจาก Cue ที่เราให้
Step 5: Debrief it
Coach T : “พี่ตู้เป็นยังไงบ้างครับในเซตแรก”
P’Tu : “โอเคนะครับ Control ร่างกายได้”
Coach T : “รู้สึกว่าเข่าหุบเข้าบ้างมั้ยครับ เกร็งก้นได้มั้ยหรือโดนหลังล่างบ้างหรือป่าว”
P’Tu : “ไม่เลยครับ โอเคเลย เกร็งก้นได้ พอลงช้าๆ แล้วก็คุมเข่าได้ดีขึ้นในครั้งท้ายๆ”
Coach T : “Ok ครับ งั้นเซตต่อไปแบบเดิมเลยครับ ย่อลงช้าๆ นั่งลงตรงๆ”
Debrief ก็คือการให้หรือการถาม Feedback ขั้นตอนนี้เป็นโอกาสที่โค้ชจะได้ถามนักเรียน ได้ให้ Feedback ว่าดีไม่ดีอย่างไร ต้องปรับตรงไหนต่อในเซตต่อไป และให้ Cue ที่จะทำในเซตต่อไป
หลังจากนี้เมื่อทำในเซตต่อไป หรือ Session ต่อๆ ไป เราก็จะใช้แค่เทคนิค Short Loop ที่เป็นการวนไประหว่าง 3 Step ก็คือ Cue, Do และ Debrief
สรุป
Coaching Loop นี่เป็นอีก 1 เครื่องมือที่ช่วยให้โค้ชมี Guide นำทางในตลอด Session ว่าเราจะสอนท่าฝึกอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการเรียนรู้กับท่านั้นๆ ได้มากขึ้น
ใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่เต็มอิ่ม ลองดูเพิ่มเติมในรูปแบบวิดีโอได้ที่ด้านล่างนี้เลยครับ